
ขนมดอกจอกสมุนไพรสดใสฟรุ้งฟริ้ง
เสนอ คุณครู
พิกุลรัตน์ บรรดาศักดิ์ไพศาล
จัดทำโดย นางสาวสุภาวดี เหล่าหงษา
โรงเรียนขามแก่นนคร
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557
กิตติกรรมประกาศ
จากรายงานเรื่อง ขนมดอกจอกสมุนไพร ที่ผลมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่คุณครูได้กำหนดหัวข้อขึ้นคณะผู้จัดทำโครงงานขนมดอกจอกสมุนไพร
ขอขอบพระคุณผู้ปกครองที่ได้ช่วยกรุณา ฝึกและสอนการทำขนมดอกจอกสมุนไพร
รวมไปถึงการสนับสนุน
เครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆในการทำโครงงานครั้งนี้จะสำเร็จลุล่วงและขอขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องและที่ได้ให้การสนับสนุน
และ อุดหนุนขนมดอกจอกสมุนไพรของเรา
บทคัดย่อ
การจัดโครงงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
สร้างและหาประสิทธิภาพของเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่และรายได้เพื่อที่จะสามารถต่อยอดในอนาคตได้และยังมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้เรียนจากผู้มีความรู้และประสบการณ์และได้มีสำรวจความพึงพอใจของนักเรียน
หลังการได้ฝึกหัดทำขนมดอกจอกสมุนไพรและได้สำรวจรสชาติจาก
เด็กนักเรียนโรงเรียนขามแก่นนครทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผลการทดสอบพบว่า
การลงมือทำขนมดอกจอกสมุนไพรจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
6/3 พบว่าประสบผลสำเร็จตามคาด
โดยการทำแต่ละครั้งผู้สอนคอยกำกับและดูแลอยู่เสมอนักเรียน
มีผลสัมฤทธิ์ทางการทำขนมดอกจอก(รสชาติ)ก่อนและหลังมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับโดยมีคะแนนหลังการฝึกทำสูงกว่าก่อนการฝึกทำ
นักเรียนมีพฤติกรรมการเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและกระตือรือร้นต่อการทำขนม
นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนหลังการฝึกทำขนมดอกจอกสมุนไพรอยู่ในระดับ ดีมาก
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาของขนม
ขนม ไทย เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของวัฒนธรรมไทยที่เเสดงให้เห็นถึงความประณีต
สวยงาม อ่อนช้อย ที่สื่อออกมาทางทางด้านงานฝีมือการทำขนม ขนมไทยมีหลากหลายชนิด
เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ทองม้วน ฝอยทอง บ้าบิ่น เป็นต้น
ซึ่งขนมไทยเหล่านี้เป็นที่นิยมมากในสมัยโบราณและบางชนิดยังเป็นที่นิยมใน ปัจจุบัน
เเต่บางชนิดกับหารับประทานยาก เช่น ขนมดอกจอก ซึ่งส่วนมากจะเป็นสินค้าโอท๊อปตามหมู่บ้านต่างจังหวัดซะส่วนใหญ่
เช่น จังหวัดนครราชสีมา
ที่มีการผลิตขนมดอกจอกเยอะมากถือเป็นสินค้าโอท็อปอีกอย่างของจังหวัดก็ว่า ได้
เเละยังสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเเม่บ้านหลังจากว่างจากงานครัวเรือนได้อีก ด้วย
ส่วนแถวกรุงเทพมหานครก็ยังพอหาทานได้บ้าง และที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ที่มีชาวบ้านบางส่วนยังให้ความสนใจในขนมดอกจอกเเละทำการผลิดขายเป็นจำนวนมาก
พร้อมกันนี้เรายังจะได้ดูวิธีเเละขั้นตอนการผลิตขนมดอกจอกได้ด้วย
ขนมดอกจอก เป็นขนมโบราณ
เป็นที่นิยมตั้งแต่สมัยก่อน แต่ในปัจจุบันเริ่มจะหาทานยาก เด็ก ๆ
สมัยนี้อาจจะไม่ค่อยรู้จักกันเท่าไรนัก
เนื่องจากไม่ค่อยเป็นที่นิยมจากเด็กรุ่นใหม่
ขนมดอกจอกเป็นขนมที่มีรูปทรงคล้ายดอกจอกที่มีเเหล่งกำเนิดอยุ่ในน้ำ
รูปทรงสวยงามน่ารับประทาน
เเต่เนื่องจากเป็นขนมที่ต้องใช้น้ำมันพืชปริมาณมากในการทอดจึงไม่ค่อยเป็น
ที่นิยมกับคนสมัยนี้ที่เน้นเรื่องสุขภาพเป็นสำคัญ
เพราะอาจทำให้มีคอลเรตเตอรอลสูงเเละทำให้อ้วนได้
ขนมดอก จอก
ในสมัยก่อนเป็นที่นิยมมากจะเป็นหนึ่งในขนมที่จจัดขึ้นในงานเเละพิธีการสำคัญ
ต่างๆเช่นงานบวช งานเเต่งงาน งานขึ่นบ้านใหม่ เป็นต้น ไม่เเพ้ขนมไทยอย่างทองหยิบ
ทองหยอด หรือฝอยทองที่เป็นที่นิยมทั่งในอดีตและปัจจุบัน
วัตถุประสงค์
1.
เพื่อศึกษาการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพแก่นักเรียนภายในกลุ่ม
2.
สามารถที่จะนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพต่างๆในอนาคตได้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.
มีแนวทางการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสำหรับตัวนักเรียนเองในการคิดสูตรขึ้นมา
2.
มีการบริการสังคมที่เกิดจากการผลิตขนมของนักเรียน
ขอบเขตการวิจัย
1.การวิจัยมุ่งเน้นที่กระบวนการสร้างการเรียนรู้ของนักศึกษา
และการถ่ายทอดความรู้นั้นสู่
ชุมชนผ่านโครงกำรบริการสังคม
เพื่อให้ได้ตัวแบบของกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพในการ
ปรับปรุงการเรียนการสอนในหลักสูตร
บทที่ 2
การทบทวนวรรณกรรม
ในบทการทบทวนวรรณกรรมนี้มีทั้งหมด1 ส่วน คือส่วนที่เเป็นแนวคิดที่ได้จากผู้ปกครอง
แนวคิดที่ได้จากผู้ปกครอง
สูตรขนมดอกจอกสมุนไพร
1.
แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
2.
แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1/2 ถ้วย
3. แป้งมัน 1/2 ถ้วยตวง
4.
เกลือป่น 1 ช้อนชา
5.
น้ำตาลทราย 1/2 ถ้วยตวง
6.
น้ำ 1/2 ถ้วยตวง
7.
น้ำปูนใส 1/4 ถ้วยตวง
8.
ไข่แดง 1 ฟอง
9.
น้ำมัน 1 ช้อนโต๊ะ
10.
งาคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ, ใบเตยหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
11. กระดาษซับน้ำมัน
อุปกรณ์ :
1.กระทะ
2.กะชอน
3.พิมพ์ขนมดอกจอกเบอร์3
4.ถาด
5.ตะเกียบไม้
6.กระดาษไข
บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ขั้นตอนเละวิธีการทำ ขนมดอกจอก
ขนมดอกจอกมีขั้นตอนเเละวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยากเเละซับซ้อน
ถือเป็นขนมไทยอีกชนิดหนึ่งทำทานเองได้ที่บ้านเเค่มีวัสดุ เช่น
เเม่พิมพ์ลายดอกจอกที่หาซื้อได้จากร้านขายของในตลาดสดทั่วไปราคาไม่เเพง
หรือเเม้เเต่วัตถุดิบก็หาซื้อได้ง่ายเช่นกัน ส่วนประกอบในการทำขนมดอกจอก ประกอบด้วย
แป้งข้าวเจ้า, เเป้งมัน; แป้งมัน,ไข่เเดง , น้ำสะอาด, กะทิ,
น้ำตาลทราย, เกลือป่น, งาดำ
ซึ่งส่วนผสมสามารถหาได้ทั่วไปตามท้องตลาด
ขั้นตอนการทำขนมดอกจอก
ผสมเเป้งสาลีที่ร่อนเเล้ว เเป้งมัน เเละเเป้งข้าวเจ้า
พร้อมกับเทน้ำสะอาดในปริมาณที่พอเหมาะ ใส่เกลือ น้ำตาลทรายเเละไข่เเดง
นวดให้ส่วนประกอบเข้ากันเเละเเป้งเกิดความนิ่ม
เเล้วจึงใส่น้ำปูนใสกับน้ำมันพืชตามลงไปนวดให้เข้ากันอีกครั่งแล้วจึงใส่งาดำลงไป
เเล้วพักทิ้งไว้ครึ่งชั่วโมง
เตรียมกระทะ
เทน้ำมันพืชลงไปในปริมาณมากรอจนน้ำมันพืชร้อนได้อุณหภูมิที่พอเหมาะ (ร้อนจัด)
เเล้วนำพิมพ์ที่เตรี้ยมไว้มาจุ่มในน้ำมันพืชที่ร้อนจัด
(ต้องมาการเตรียมผ้าที่สะอาดขนาดพอเหมาะพับซ้อนกันไว้เช็ดก้นพิมพ์)
นำเเม่พิมพ์ที่ร้อนจัดมาจุ่มลงในเเป้งที่เรานวดไว้ปริมาณ 3/4 ของแม่พิมพ์ แล้วนำไปจุ่มลงในกระทะที่มีน้ำมันเดือดรออยู่
กดแม่พิมพ์ให้อยู่ในน้ำมันสักครู่ จึงดึงพิมพ์ออกจากแป้ง ทอดให้เเป้งเหลืองสวยงาม
(ขั้นตอนนี้ต้องใช้ความประณีตเเละใจเย็นเป็นอย่างมากเพื่อความสวยงามของรูป
ทรงขนมดอกจอก)
ขนมดอกจอก เป็นขนมไทยอีกชนิดหนึ่งที่มีประวัติอยุ่คู่กับคนไทยมายาวนาน
เเละเป็นขนมที่มีขั้นตอนการทำไม่อยากทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเเละซับซ้อน
วัตถุดิบในการทำขนมดอกจอกก็หาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไปและราคาไม่เเพง
ขนมดอกจอกเป็นขนมอีกหนึ่งชนิดที่เหมาะอนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่กับคนไทยไปนานๆ
สุดท้ายผู้เขียนก็หวังว่าคนรุ่นใหม่คงจะไม่ลืมไปว่าเรายังมีขนมไทยอีกหลากหลายชนิดที่มีทั่งความอร่อย
สวยงาม ความประณีตในการทำ เเละราคาไม่เเพงหารับประทานได้ง่าย ไม่แพ้ขนมหรู
ราคาเเพงในห้างสรรพสินค้าเลย เเละที่สำคัญเราเป็นคนไทย
คนรุ่นใหม่เราก็ควรอนุรักษ์ของๆไทยไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรม ขนม หรือการใช้ชีวิตเเบบ
พอเพียง เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เอาเอาเป็นเเบบอย่างต่อไป
บทที่ 4
ผลการศึกษาผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ในบทนี้เป็นการนำเสนอผลการศึกษาของการบูรณาการการเรียนรู้กับกำรบริการสังคม
จากกรณีศึกษาการทอดขนมดอกจอกซึ่งผลงานนี่ของนักเรียนได้นำไปเผยแพร่ในโครงงานนี้แก่นักเรียน
โรงเรียนขามแก่นนคร ในงาน Open House ซึ่งได้รับการตอบรับ
จากนักเรียนโรงเรียนนี้เป็นอย่างดี
กระบวนการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาขนมดอกจอก