![]() |
Tools
Knowledge |
ธนาคารปูม้าหาดเจ้าสำราญ
จ.เพชรบุรี ก่อตั้งมาหลายปี สามารถปล่อยลูกปูม้าลงทะเล
ปัจจุบันเพิ่มการพัฒนาเป็นธนาคารลูกหมึกกล้วย ปล่อยลูกปูม้า ลูกหมึกกล้วย
กลับคืนสู่ท้องทะเลมากกว่า 30-40 ล้านตัว เพื่อเป็นแหล่งอาชีพแก่ชาวประมงหาดเจ้าสำราญอย่างยั่งยืนในอนาคต
การจัดตั้ง “ธนาคารปูม้า” เป็นนวัตกรรมและภูมิปัญญาในการฟื้นฟูทรัพยากรปูม้าให้กับท้องทะเลไทยที่ก่อประโยชน์แก่ธรรมชาติและเศรษฐกิจประมงอย่างมหาศาล
โครงการ “ธนาคารปูม้าหาดเจ้าสำราญ จ.เพชรบุรี” นับเป็นการคงไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลให้คงอยู่คู่ทะเลไทยอย่างยั่งยืน
ชาวประมงเรือเล็กที่จับปูม้าในแต่ละวันจะนำแม่ปูม้าที่มีไข่แก่ติดหน้าท้องมาฝากไว้ในถังอนุบาลที่จัดทำขึ้นแบบส่วนรวม
เรียกว่าธนาคารปูม้า อย่างที่ชุมชนหาดเจ้าสำราญ จ.เพชรบุรี มีปูม้าเข้ามาทุกวัน เมื่อนำแม่ปูม้ามาเขี่ยไข่ออกจากหน้าท้องแล้วจึงนำแม่ปูไปขาย
ส่วนไข่ก็รอให้ฟักตัว จากนั้นนำมาอนุบาล
เมื่อแข็งแรงเต็มที่ก็นำไปปล่อยลงทะเลให้เจริญเติบโตต่อไป
ที่ผ่านมาการจัดทำ “ธนาคารปูม้า” เป็นหนึ่งในกิจกรรมของกรมประมง
ที่ใช้แนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรประมงให้ชุมชนมีส่วนร่วมฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลมาตั้งแต่ปี
2550 การเริ่มต้นของธนาคารปูม้าหาดเจ้าสำราญ และแหลมผักเบี้ย
จะมีสะดุดบ้าง แต่ในที่สุดก็ประสบความสำเร็จจากการมีส่วนร่วมของชุมชน ใช้เวลาเพียง
4-5 ปี สามารถปล่อยลูกปูม้า และลูกหมึกกล้วยลงทะเลได้มากกว่า
30-40 ล้านตัว
ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นต้องใช้เวลาดำเนินการในแบบเดียวกันถึง 20-30 ปี
การจัดตั้งธนาคารปูม้าในพื้นที่แห่งนี้เห็นผลได้อย่างรวดเร็ว
เพราะชุมชนเข้มแข็ง แต่ละวันมีปูม้าขึ้นสู่ฝั่งเป็นอาหารของผู้คน
ชาวประมงที่อาศัยอยู่ชายฝั่งต่างได้รับประโยชน์ ชุมชนยืนได้ด้วยขาตนเอง
และที่สำคัญปูม้าจะมีอยู่ทุกหน้าบ้านในท้องทะเลของหาดเจ้าสำราญ
จ.เพชรบุรี.-สำนักข่าวไทย
ที่มา : สำนักข่าวไทย
อัพเดตเมื่อ 9 ก.ค. 58
จำนวนผู้อ่าน 185 คน
Hits | 2,548,194 |
Members | 57,949 |
Plants | 149,843 |
animals | 70,082 |
Experts | 10,209 |
Products | 8,692 |
Ecotourism | 6,621 |
Groups | 1,237 |