![]() |
Tools
Knowledge |
เมื่อนึกถึงปลาสวยงามในทะเล
คนส่วนใหญ่จะนึกถึงปลาที่มีสีสันสดใสสวยงาม น่ารัก หรือปลาที่มีลักษณะแปลกๆ
ยิ่งสีสันสวยงามมากแค่ไหน รูปร่างท่าทางในการดำรงชีวิตแปลกตา ไปเท่าไหร่ก็ดูจะกลายเป็นที่ชื่นชอบและเป็นที่ต้องการของผู้ที่คลั่งไคล้ตู้ทะเลจำลองเป็นอย่างมาก
ปลาใบมีดโกน หรือ ปลาข้างใส
มีชื่อภาษาอังกฤษว่า razorfish หรือ shrimpfish
มีลักษณะที่รูปร่างและวิธีการว่ายน้ำ รูปร่างบางเฉียบ
ปากมีลักษณะเป็นท่อ เกล็ดพัฒนาเหมือนเกราะบางใสหุ้มตัว
ว่ายน้ำหัวทิ่มลงลำตัวตั้งฉากกับพื้นตลอดเวลา
ลำตัวยาวประมาณ 12
เซนติเมตร จุดเด่นของปลาชนิดนี้คือ
หางชี้แหลมคล้ายส่วนปลายของมีดโกนของช่างตัดผมสมัยโบราณ
ดูเหมือนว่าร่างกายที่บอบบางของปลาชนิดนี้จะไม่สามารถป้องกันตัวจากศัตรูได้
จึงต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงนั้น
แต่อาจไม่จริงเสมอไปเพราะปลาชนิดนี้ไม่ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงรูปร่างตั้งแต่หกล้านปีที่ผ่านมา
ด้วยความได้เปรียบของรูปร่างที่บางเฉียบ และสายตาที่ว่องไว
สามารถหนีศัตรูเข้าไปในซอยหินเล็กๆ หรืออาศัยหนามของเม่นทะเลเป็นเกาะป้องกันตัว
ยากที่ผู้ล่าจะติดตามไล่ล่าได้ จึงทำให้ปลาใบมีดโกนมีชีวิตอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้
การที่ปลาใบมีดโกนมีลักษณะการดำรงชีวิตที่แปลกตาน่าสนใจจึงถูกจับจากธรรมชาติมาจัดแสดงในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสาธารณะและเลี้ยงในตู้ของนักนิยมสัตว์น้ำสวยงาม
ส่งผลให้จำนวนประชากรปลาใบมีดโกนในธรรมชาติมีลดน้อยลง
อีกทั้งมีความเป็นไปได้ว่าปลาที่จับมาจากธรรมชาติมักจะบอบช้ำระหว่างการจับ
ทำให้เมื่อถึงมือผู้ซื้อมีรูปร่างไม่สมบูรณ์และการเลี้ยงดูที่ไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมตามธรรมชาติที่ต้องการอาหารมีชีวิตจึงทำให้ปลาชนิดนี้ตายง่ายจนผู้เลี้ยงหลายรายต้องถอดใจและเลิกเลี้ยงปลาชนิดนี้
จากปัญหาดังกล่าวนี้ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร
กรมประมง
ได้ทำการศึกษาวิจัยเพาะขยายพันธุ์ปลาใบมีดโกนได้จนถึงระยะเหมือนตัวเต็มวัยได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
ทางศูนย์ฯ ได้จัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความต้องการพื้นฐานของปลา
ศึกษาวิธีการเลี้ยงปลาใบมีดโกนให้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในระบบน้ำหมุนเวียน
พัฒนารูปแบบวิธีการเพาะพันธุ์ในโรงเพาะฟัก
และการเลือกอาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ
ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้
โดยวิธีการจัดการสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเลี้ยงของศูนย์ฯ
สามารถใช้เป็นแนวทางให้ผู้นิยมสัตว์น้ำสวยงามนำไปใช้เป็นแบบอย่างเพื่อลดการสูญเสียปลาที่เลี้ยงไว้เรียกได้ว่าปลาที่ได้มาจากการเพาะที่ศูนย์ฯ
เลี้ยงง่าย แข็งแรง ที่สำคัญไม่ทำลายระบบนิเวศของท้องทะเล
ปัจจุบันนอกจากกรมประมงจะเพาะพันธุ์ปลาใบมีดโกนได้สำเร็จแล้ว
ยังได้มีการเผยแพร่ความรู้ในการเพาะพันธุ์ปลาใบมีดโกนให้กับเกษตรกรผู้สนใจ
ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสมุทรสาคร
กรมประมง 0 3485 7136 หรือ 0 3442 6220
“ปลาใบมีดโกน”
ถือว่าเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจสวยงามชนิดใหม่ของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการที่กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้แน่นอนว่านอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและแนวปะการัง
ยังเป็นการเพิ่มความหลากหลายของชนิดสัตว์น้ำให้กับตลาดปลาสวยงามทะเลได้อีกทางหนึ่งด้วยค่ะ
ที่มา : ก้าวเกษตร
อัพเดตเมื่อ 16 ก.ค. 58
จำนวนผู้อ่าน 759 คน
Hits | 2,548,194 |
Members | 57,949 |
Plants | 149,843 |
animals | 70,082 |
Experts | 10,209 |
Products | 8,692 |
Ecotourism | 6,621 |
Groups | 1,237 |