 |
Biogang Database
Bio Diversity (พืช)
|
ต้นเตยหอม
ชื่ออื่นๆ:
เตยหอม หวานข้าวไหม้ ปาแนะออจิง
หมวดหมู่ทรัพยากร: พืช
ลักษณะ:
-เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ
ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้
ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด
- ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน
เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ
ใบมีกลิ่นหอม
การขยายพันธุ์ แยกต้น แยกหน่อปลูก
ประโยชน์:
1.ใช้ ผสมอาหาร ทำอาหาร ดับกลิ่น แก้โรคเบาหวาน 2.ใช้บำรุงหัวใจ
กลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ดื่มทำให้ชุ่มคอ ใบตำพอกโรคผิวหนัง
ต้นและรากขับปัสสาวะ
เตยหอม
3.ราก ยาขับปัสสาวะ ใบสด น้ำใบเตย บำรุงหัวใจ
4ประโยชน์ ใบเตยหอมใช้แต่งสีและกลิ่น เครื่องดื่ม ขนมหวานและอาหารหลายชนิด และมีสรรพคุณทางสมุนไพร
ส่วนที่ใช้ ต้น ราก ใบสด
ฤดูกาลใช้ประโยชน์:
ศักยภาพการใช้งาน:
ชื่อสามัญ:
Pandom wangi
ชื่อวิทยาศาสตร์:
Pandanus amaryllifolius Roxb
ชื่อวงศ์:
PANDANACEAE
ข้อมูลอื่นที่ฉันรู้:
ในตำราแผนโบราณ
กล่าวไว้ว่า ใบเตยใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ ช่วยลดอาการกระหายน้ำ
ซึ่งเมื่อเรารับประทานน้ำใบเตยจะรู้สึกชื่นใจและชุ่มคอ
โดยใช้ใบเตยสดล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด
เติมน้ำเล็กน้อยคั้นเอาแต่น้ำดื่ม เติมน้ำตาลเล้กน้อยก็ได้
เตยหอม
0
รูปภาพเพิ่มเติม

ถ่ายกับต้นเตย

ลักษะณะเตย
แหล่งที่พบ
สถานที่พบ: ่ในสวนแถวๆ โรงเรียน
ตำบล: บางตีนเป็ด
อำเภอ: เมืองฉะเชิงเทรา
จังหวัด: ฉะเชิงเทรา | |
แสดงความคิดเห็น
(ต้องการแสดงความคิดเห็น กรุณา log-in)