 |
Biogang Database
Bio Diversity (พืช)
|
มะหวด
ชื่ออื่นๆ:
หวดฆ่า[1] หวดค่า[2] (อุดรธานี), สีหวด (นครราชสีมา), สีฮอกน้อย หวดลาว (ภาคเหนือ), มะหวดป่า หวดคา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), หวดเหล้า (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ, คนเมือง), กำซำ กะซ่ำ มะหวด (ภาคกลาง), ชันรู มะห
หมวดหมู่ทรัพยากร: พืช
ลักษณะ:
ต้นมะหวด จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 5-10 เมตรและสูงได้ถึง 15 เมตร ทรงพุ่มกลมหรือเป็นรูปไข่ เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งแขนงเป็นรูปทรงกระบอกเป็นร่อง ที่กิ่งก้านมีขนละเอียด เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีขนสั้น ๆ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและวิธีการทำกิ่งตอน เจริญเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด ชอบดินทุกชนิดที่ระบายน้ำได้ดี ชอบแสงแดดจัด มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศอินเดีย จีนตอนใต้ ออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในประเทศไทยพบได้ทุกภาค ตามป่าผลัดใบ ริมลำธาร ชายป่าชื้น ชายป่าดิบ ป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง และพื้นที่โล่งแจ้ง ที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 300-1,200 เมตรใบมะหวด ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับ แก่นกลางใบประกอบยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 3-6 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปไข่ถึงรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-11 เซนติเมตรและยาวประมาณ 3-30 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวเข้ม ผิวใบด้านล่างมีสีอ่อนกว่า ผิวใบมีขนนุ่มปกคลุมอยู่ทั้งสองด้าน แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียวและย่นเป็นรอย ส่วนใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมเขียว
ดอกมะหวด ดอกเป็นสีขาวถึงสีเหลืองอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนงตั้ง จากปลายยอดหรือซอกใบใกล้ปลายยอด มีความยาวถึง 50 เซนติเมตร ดอกย่อยเป็นสีขาวมีขนาดเล็กและมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกเป็นแบบแยกเพศ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร มีกลีบดอก 4-5 กลีบ เกลี้ยงหรือมีขน กลีบดอกเป็นสีขาว โคนกลีบแคบ มีขนและมีเกล็ดเล็ก 1 เกล็ด ที่มีสันนูน 2 สัน ดอกมีเกสรเพศผู้ 8 ก้าน ก้านเกสรมีขนสีน้ำตาลอ่อน ๆ ส่วนก้านเกสรเพศเมียยาวและไม่มีขน ส่วนกลีบเลี้ยงดอกมี 5 กลีบ ลักษณะของกลีบเป็นรูปครึ่งวงกลม กลีบนอก 2 กลีบจะเล็กกว่ากลีบในและมีขนที่ด้านนอก โดยจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคม
ประโยชน์:
- เนื้อผลมะหวดฉ่ำน้ำ ผลสุกมีรสจืดฝาดถึงหวาน ใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้[1],[3]
- ใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้ โดยจะรับประทานเป็นผักสด ต้ม ลวกจิ้มกับน้ำพริก หรือใช้ใส่ในแกงผักรวม ใส่ปลาย่าง ฯลฯ และชาวบ้านยังนำมาใช้รองพื้นหรือคลุมข้าวที่จะใช้ทำขนมจีนเพื่อช่วยกันบูดได้อีกด้วย[3]
- เนื้อไม้มะหวดสามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้าง ทำไม้ฟืน หรือใช้ทำด้ามเครื่องมือทางการเกษตรได้
ฤดูกาลใช้ประโยชน์:
ฤดูร้อน
ศักยภาพการใช้งาน:
ผลมีสรรพคุณบำรุงกำลัง (ผล)[3] เปลือกต้นช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย แก้ธาตุพิการ (เปลือกต้น)[3] รากช่วยแก้วัณโรค (ราก)[1],[2],[3] รากใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้เบื่อเมา (ราก)[3] รากใช้ตำพอกศีรษะแก้อาการปวดศีรษะได้ หรือใช้รากฝนกับเหล้าขาวแล้วนำพอกก็ได้ (ราก)
ชื่อสามัญ:
-
ชื่อวิทยาศาสตร์:
Lepisanthes rubiginosa (Roxb.) Leenh.
ชื่อวงศ์:
(SAPINDACEAE)
ข้อมูลอื่นที่ฉันรู้:
- ช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง (เมล็ด)
- รากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (ราก)
- ผลสุกใช้รับประทาน ช่วยแก้ท้องร่วง (ผล)
- ช่วยแก้บิด (เปลือกต้น)
- รากเป็นยาขับพยาธิ (ราก)
แหล่งที่มาของข้อมูล:
หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1. “มะหวด (Ma Huat)”. (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์). หน้า 239. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง. “มะหวด”. (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี
คำช่วยค้นหา:
มะหวด
0
แหล่งที่พบ
สถานที่พบ: หมู่บ้านซับตารี
ตำบล: ทุ่งขนาน
อำเภอ: สอยดาว
จังหวัด: จันทบุรี | |
แสดงความคิดเห็น
(ต้องการแสดงความคิดเห็น กรุณา log-in)